สามคาน, สามลำคาน หมายถึง น. เรียกพระยานมาศขนาดใหญ่มีคานสําหรับแบก ๓ คานว่าพระยานมาศสามลำคาน.
น. ไม้หรือเหล็กที่แยกออกเป็น ๓ แฉกเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน,เรียกอาวุธที่มีปลายแหลมเป็น ๓ แฉกเรียงอยู่ในแนวเดียวกันด้ามยาว ว่า สามง่าม, เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะเช่นนั้น.
น. เรียกเนื้อหมูส่วนท้องที่ชำแหละให้ติดทั้งหนัง มัน และเนื้อว่าหมูสามชั้น; จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับช้า คือช้ากว่าสองชั้นเท่าตัว หรือช้ากว่าชั้นเดียว ๔ เท่า เรียกเต็มว่า อัตราสามชั้น,เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสามชั้น เพลงสามชั้น.
น. เรียกธงสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย ว่า ธงสามชาย.
น. ชื่อของหวานประเภทน้ำเชื่อม ประกอบด้วยของ ๓ อย่างคือ วุ้น ลูกพลับแห้ง และชิ้นฟักแช่อิ่ม.
น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับหลักทั้ง ๓ เวียนไป มักใช้ทายเกี่ยวกับของหาย เรียกว่า ยามสามตา; เต้ารับไฟฟ้าที่มีรู ๓ คู่สําหรับนําเต้าเสียบมาเสียบเพื่อนํากระแสไฟฟ้าออกไปใช้ได้๓ วงจร.
น. การแสดงกระบี่กระบองแบบหนึ่ง ใช้อาวุธหลายชนิดเข้าต่อสู้กันโดยไม่จับคู่กับอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น กระบองคู่กับดาบสองมือ ง้าวคู่กับดาบดั้ง.
น. เรียกตลับหรือโถแป้งเป็นต้น ๓ ใบที่มีขนาดใหญ่ กลาง เล็กรวมเป็นชุดหนึ่ง เช่น ตลับหมากสามใบเถา โถแป้งสามใบเถา,(ปาก) เรียกพี่น้องผู้หญิง ๓ คนเรียงกันว่า สามใบเถา.